เมนู

ครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร ได้ทรงฟังก็สโมสรโสมนัสปรีดา มีพระราช-
โองการตรัสว่า กลฺโลสิ สธุสะ พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนาปัญหานี้โยมสิ้นสงสัยในกาลบัดนี้
สังขารชายนปัญหา คำรบ 4 จบเท่านี้

ภวันตานัง สังขารานัง ชานนปัญหา ที่ 5


ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมิทราธิบดี มีพระราชโองการถามอรรถปัญหาอื่นอีกเล่า
ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้า เกจิ สงฺขารา อันว่าสังขารธรรมบางเหล่าที่
มิได้มี และสังขารบางเหล่าที่มิได้มีนั้น ชายนฺติ ย่อมบังเกิดขึ้นอย่างนี้มีบ้างหรือหามิได้
พระนาคเสนวิสัชนาแก้ไขว่า ขอถวายพระพร มีอยู่
เออ โยมจะใคร่รู้ว่า อย่างไรกระนั้น พระผู้เป็นเจ้า
อ้อ ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ปานประดุจราชฐานไม่มี มหาบพิตรจะ
สถิตนั่งที่ไหน
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นกษัตริย์จึงตรัสว่า ถ้าหาราชฐานไม่ โยมก็ไม่มีที่นั่งนั่นแหละซิ
ผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนจึงเปรียบว่า ประการหนึ่ง ธรรมดาว่าไม้ก็เกิดในป่า มตฺติกา ดินเล่าก็มีอยู่
กับปฐพี คนทั้งหลายนี้จึงขุดเอาดินมาทำเป็นพื้นราชฐาน จึงเอาไม้ในป่ามาทำเป็นเสาเป็นฝา
เป็นหลังคาราชฐาน ก็ปูกระดานพื้นที่รื่บราบเป็นอันดี เดิมนิเวศน์สถานยังไม่มี ก็มีขึ้นด้วย
คนกระทำฉันใด ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร สังขารบางเหล่าที่ไม่มีก็มีขึ้นเหมือน
ินิเวศน์สถานอันมิได้มีแล้วคนกระทำให้มีขึ้นนั้น
พระเจ้ากรุงมิลินท์ผู้เป็นปิ่นมไหศวรรย์ จึงมีพระราชโองการตรัสว่า นิมนต์พระผู้เป็น
เจ้ากระทำอุปมาให้ยิ่งกว่านี้
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาอุปมาต่อไปว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราช-
สมภาร ปานประหนึ่งว่าพืชทั้งหลายอันงอกขึ้นในแผ่นดินเดิมนั้นน้อย ครั้นต่อมาก็โตใหญ่เป็น
ใบเป็นดอกออกผลเป็นต้นใหญ่ ครั้นต่อมาก็ตายไปไม่มี ครั้นต่อมากลับมีขึ้น ฉันใดก็ดี สัง

ขารบางเหล่าที่ไม่มีนั้น กลับมีขึ้นดุจพืชไม่มีแล้วกลับมีขึ้น ขอถวายพระพร
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นมไหศวรรย์ มีพระราชโองการให้พระนาคเสนนั้นกระทำอุปมา ให้
ภิยโยภาวะยิ่งขึ้นไป
พระนาคเสนจึงกระทำอุปมาอุปไมยว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราช-
สมภาร เปรียบปานประดุจช่างหม้อไปขุดเอาดินในแผ่นดินจนลึกเป็นบ่อ มาปั้นเป็นหม้อเป็นไห
สารพัดที่จะกระทำไปเป็นภาชนะดินไว้ เดิมภาชนะนี้หามิไม่ มีก็มีขึ้นด้วยช่างหม้อ กระทำขึ้นใหม่
นี้เปรียบฉันใด ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร สังขารบางเหล่าที่ไม่มีก็มีขึ้น ดุจภาชนะดิน
อันมีขึ้นด้วยช่างหม้อเขาปั้นไว้ฉันนั้น
สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสให้พระนาคเสนกระทำอุปมา
อุปไมยให้ยิ่งขึ้นไป
พระนาคเสนจึงกระทำอุปมาอุปไมยว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร
เปรียบปานดุจหนึ่งใบพิณมิได้มี หนังขึ้นก็มิได้มี คันพิณมิได้มี ลูกบิดก็มิได้มี สายมิได้มี สายโยง
และนมมิได้มี บุรุษจะดีดสีกับอะไร จะยังเสียงพิณให้ดังขึ้นจะได้ดีหรือหามิได้
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นเกล้าเจ้าธรณี มีพระราชโองการตรัสว่า เมื่อตัวพิณหามิได้ จะเอา
อะไรมาเป็นเสียงได้
พระนาคเสนจึงถวายพระพรต่อไปนี้ มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ประการ
หนึ่งเล่า วีณาย ปตฺตํ สิยา ใบแห่งพิณนั้นมี จมฺมํ สิยา หนังหุ้มขึ้นพิณนั้นมี โทณิ สิยา รางพิณ
นั้นมี ทณฺโฑ สิยา คันพิณนั้นมี อุปธาโน สิยา ลูกขันพิณนั้นก็มี ตนฺติโย สินา สายพิณนั้น
ก็มี โกโน สิยา ไหมโยงนั้นก็มี บุรุษจะดีดสี เสียงพิณจะมีหรือหามิได้
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นทวีปเวียงชัยตรัสว่า พิณนั้นประกอบทำใหม่แล้วเสียงก็จะไพเราะ
เมื่อดีดเข้าก็ดังเสนาะไป
พระนาคเสนจึงวิสัชนาว่า พิณเขากระทำใหม่เดิมหามีไม่ พิณมีขึ้นใหม่ฉันใดก็ดี
ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารมหริศราธิบดี สังขารที่ไม่มี มีขึ้นใหม่ ก็มีอุปไมยเหมือนกัน
พระเจ้ามิลินท์ปิ่นมไหศวรรย์ จึงมีพระราชโองการตรัสว่า โยมอาราธนาผู้เป็นเจ้าอุปมา
ให้ภิยโยภาวะยิ่งขึ้นกว่านี้
พระนาคเสนเถระจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร
มหิศราธิบดี อรณี น สิยา ถ้าว่าแม่ไม้สีไฟไม่มี ลูกไม้สีไฟก็ไม่มี เชือกที่ผูกไม้สีไฟก็ไม่มี ไม้ที่จะ

หนุนขึ้นไว้ก็ไม่มี ปุยและฝอยในแม่ไม้สีไฟไม่มี คนที่จะสีก็ไม่มี ชาเยยฺย โส อคฺติ เพลิงจะติดขึ้น
เองหรือประการใด
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นกษัตริย์ตรัสตอบไปว่า หามิได้
พระนาคเสนจึงอุปมาต่อไปว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารผู้เป็นใหญ่
ถ้าว่าไม้สีไฟมี อรณีโปตโก ลูกสีก็มี อรณีโยตฺตกํ เชือกผูกมี อุตฺตรารณี ไม้ที่จะหนุนไว้ก็มี
โททฺธกํ สิยา ปุยฝอยภายในไม้แม่สีไฟมี ทั้งคนสีก็มี เพลิงนั้นจะมีหรือหามิได้
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นประชาชนจึงตรัสว่า ถ้าฉะนั้นแล้วก็มีไฟ
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า ไม้แม่ไฟเดิมหามีไม่ ครั้นมามีไม้แม่สีไฟ ไฟมีขึ้นฉันใด
ก็ดี สังขารเดิมไม่มีกลับขึ้นดุจดังแม่ไม้สีไฟนี้
สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดีพระราชโองการตรัสว่า โยมอาราธนานิมนต์
อุปมาให้ยิ่งไปกว่านี้
พระนาคเสนจึงมีวาจาว่า มหาราช ของถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ผู้เป็น
มหิศราธิบดี เปรียบประดุจแว่นแก้วมณีที่จะส่องไฟไม่มี ทั้งแดดก็ไม่มี ปุยที่จะรองภายใต้ก็ไม่มี
ไฟจะมีหรือว่าหามิได้
พระเจ้ากรุงมิลินท์จึงตรัสว่า ถ้าฉะนั้นแล้ว แว่นแก้วไม่มี จะได้ไฟที่ไหนมา
พระนาคเสนอุปมาต่อไปว่า มหาราช ขอถวายพระบรมพิตรมหิศราธิบดี ถ้าแว่น
แก้วมณีมี แสงสุริยรังสีมี ปุยที่ใส่ภายในก็มี คนส่องก็มีฉะนี้ จะมีเพลิงขึ้นหรือหามิได้
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นกษัตริย์ตรัสตอบไปว่า ถ้าฉะนั้นก็มีไฟ
พระนาคเสนถวายพระพรว่า ความนี้เดิมแว่นส่องไฟไม่มีก็ไม่มีไฟ แว่นส่องไฟไม่มีมีขึ้น
ใหม่ ไฟก็มีขึ้นฉะนี้ มีครุวนาฉันใด สังขารที่ไม่มี มีขึ้นแล้วมีไป ก็มีครุวนาดังแว่นแก้วส่องไฟฉะนั้น
สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมิทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า นิมนต์พระผู้เป็นเจ้า
อุปมาให้ภิยโยภาวะยิ่งกว่านี้
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจารถวายอุปมาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราช-
สมภาร เปรียบปานประดุจดังว่ากระจกไม่มี แสงสุริยรังสีซึ่งจะสว่างไม่มี หาที่จะส่องเข้าก็ไม่มี
เงาคนจะมีที่กระจกหรือประการใด

พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นกษัตริย์ตรัสว่า ถ้าฉะนั้น เงาคนก็ไม่มี
พระนาคเสนองค์อรหาธิบดีจึงอุปมาต่อไปว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตร
มหิศราธิบดี ถ้ากระจกมี แสดงสุริยรังสีมี คนก็ส่องเข้า เงาในกระจกจะมีหรือหามิได้ นะ
บพิตรพระราชสมภาร
พระเจ้ากรุงมิลินท์ จึงมีพระราชโองการตรัสว่า ถ้าฉะนั้นแล้ว เงาก็มีนั้นซิ พระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนถวายพระพรว่า ฉันใดเล่า สังขารบางเหล่าที่ไม่มีก็มีขึ้น มีครุวนาดุจกระ
จกไม่มีก็มีขึ้น มีคนส่องเข้า เงาก็มีนั้น ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีได้ทรงฟังพระนาคเสนอุปมาดังนั้น ท้าวเธอก็มี
พระทัยโสมนัสปรีดา มีพระราชโองการตรัสว่า กลฺโลสิ สธุสะพระผู้เป็นเจ้าวิสัชนาอุปมานี้
สมควรแก่ปัญหา ในกาลบัดนี้
ภวันตานัง สังขารานัง ชานนปัญหา คำรบ 5 จบเท่านี้

วทคูปัญหา ที่ 6

ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสถามอรรถปัญหาอื่นต่อ
ไปอีกเล่าว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ประกอบด้วยปรีชา ปัญหานี้โยมสงสัยอยู่
สภาวะอย่างไรเรียกว่าเวทคู
พระนาคเสนผู้วิเศษ จึงย้อนถามว่า มหาบพิตรสังเกตสภาวะอันใดกำหนดว่าเป็นเวทคู
อ้อ โยมสังเกตว่าสัตว์บรรดาที่มีชีวิตอยู่นี้ แลดูรูปด้วยจักขุ ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วย
จมูก รู้รสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะอันอ่อนและกระด้างด้วยกาย รู้ธรรมารมณ์ด้วยน้ำใจ นี่แหละ
เรียกว่าเวทคู จะเปรียบให้พระผู้เป็นเจ้าฟัง ยถา มยํ เหมือนหนึ่งว่าเราอยู่ในปราสาทปรารถนา
จะดูสิ่งไร ก็เปิดหน้าพระแกลแลไป หน้าพระแกลเปิดไว้ทั้งทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก
ทิศตะวันตกนั้น ครั้นปรารถนาจะดูโดยช่องพระแกล ก็แลไปในทิศเหนือหรือทิศใต้ทิศตะวันตก
ทิศตะวันออกประการใด ก็เห็นไปสมปรารถนา ยถา มีครุวนาฉันใด สภาวะที่มีชีวิตจิตใจอยู่จะดู
รูปด้วยจักขุทั้งสอง จะฟังเสียงด้วยหูทั้งสองข้าง จะดมกลิ่นต่าง ๆ ด้วยนาสา จะบริโภคด้วย